โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
"อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย"
"อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย"
อุบลราชธานี : 25 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) เป็นผู้แทนรับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานี จาก นางณัฏฐินา ไชยกาล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร ภายใต้กิจกรรม "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย".#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
25 ต.ค. 2565
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน  ประจำเดือนกันยายน  2565  ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนกันยายน 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนกันยายน 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
17 ต.ค. 2565
รายละเอียดรายการบัญชีที่สำคัญประกอบงบทดลองประจำเดือนกันยายน 2565  ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7   กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายละเอียดรายการบัญชีที่สำคัญประกอบงบทดลองประจำเดือนกันยายน 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายละเอียดรายการบัญชีที่สำคัญประกอบงบทดลองประจำเดือนกันยายน 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
17 ต.ค. 2565
"ผอ.ละเอียด" นำทีมดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เตรียมสตาร์ทโครงการเสริมแกร่งผู้ประกอบการ
"ผอ.ละเอียด" นำทีมดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เตรียมสตาร์ทโครงการเสริมแกร่งผู้ประกอบการ
อุบลราชธานี 12 ตุลาคม 2565 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) นำคณะผู้บริหาร นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) ร่วมสักการะพระนารายและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมวางพวงมาลัยไหว้ศาลพระภูมิประจำศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และเริ่มต้นการดำเนินโครงการกิจกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และขอให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งได้มอบนโยบายการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ให้กับทีมดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 .#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
12 ต.ค. 2565
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมประชุมแนวทางการดำเนินงาน'66 ผลักดันผู้ประกอบการสู่ความยั่งยืน
ดีพร้อมเซนเตอร์ 7 ร่วมประชุมแนวทางการดำเนินงาน'66 ผลักดันผู้ประกอบการสู่ความยั่งยืน
อุบลราชธานี 11 ตุลาคม 2565 ผู้บริหารศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM CENTER 7) นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรรม, นายฉาย ทองละมุล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค, นายสุเทพ ทุตา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมรายละเอียดโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธาน.สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม มีโครงการ/กิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมและสนับสนุนการรับรองมาตรฐานฮาลาล, การยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม,การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล, การเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ, การพัฒนาและส่งเสริมศัยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสู่สากล, การสนับสนุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ และยังมีโครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจที่จะช่วยยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ ได้อย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆ สามารถติดตามข่าวสารได้ทางเพจ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.#DIPROM #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
11 ต.ค. 2565
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนสิงหาคม 2565  ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนสิงหาคม 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนสิงหาคม 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
13 ก.ย. 2565
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน  ประจำเดือนกรกฎาคม  2565  ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงายงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
15 ส.ค 2565
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนมิถุนายน 2565  ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนมิถุนายน 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือนมิถุนายน 2565 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
12 ก.ค. 2565
MyVitalab เปิดโมเดลสุดเจ๋ง ขายอาหารเสริมแบบ Subscription ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
MyVitalab เปิดโมเดลสุดเจ๋ง ขายอาหารเสริมแบบ Subscription ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
ช่วงที่ยังอายุน้อยกว่านี้ นาบิฮา ไอมี หญิงสาวชาวมาเลเซียซึ่งทำงานในสายโลจิสติกส์เคยเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของวิตามินและอาหารเสริม เธอไม่ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์เหล่านี้จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อผลตรวจสุขภาพบ่งชี้ว่าร่างกายเธอขาดวิตามิน นาบิฮาจึงเริ่มดูแลตัวเองด้วยการหาซื้ออาหารเสริมมารับประทาน แต่ปัญหาหนึ่งที่ประสบคือการต้องซื้อเป็นกระปุก หากรับประทานหลายชนิดก็ต้องซื้อหลายกระปุก และเมื่อต้องพกพาไปรับประทานระหว่างเดินทาง ก็ไม่สะดวกเอาเสียเลย ทำให้การรับประทานอาหารเสริมไม่สม่ำเสมอและขาดตอน นาบิฮาพบว่าปัญหานี้หลายคนก็ประสบเช่นกันโดยเฉพาะผู้สูงวัยในบ้านที่หลายครั้งหลงลืมทำให้การรับประทานอาหารเสริมไม่ต่อเนื่อง จากปัญหาตรงนี้ทำให้นาบิฮาคิดทำธุรกิจบริการอาหารเสริมในรูปแบบที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่สุด ไอเดียธุรกิจผุดขึ้นช่วงต้นปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเกิดการระบาดของโควิด-19 ระหว่างที่ศึกษาตลาด ทำวิจัย และหาข้อมูลก็เกิดกระแสผู้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นเพื่อให้รอดจากโควิด นาบิฮาใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการตระเตรียมทุกอย่างรวมถึงทีมงานที่ประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร และนักโภชนาการ กระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2564 ธุรกิจ “MyVitalab” ก็เปิดตัวและพร้อมให้บริการ MyVitalab ให้บริการวิตามินและอาหารเสริมในรูปแบบสมาชิก (Subscription) โดยบริษัทจะส่งแพ็กเกจวิตามินที่บรรจุมาในซองเล็กๆ ให้ลูกค้าเดือนละกล่อง หนึ่งกล่องบรรจุวิตามิน 30 ซอง ซึ่งเพียงพอต่อการรับประทาน 1 เดือน เบื้องต้นมีอาหารเสริมและวิตามินให้เลือก 2 ชุด ได้แก่ ชุด Vitarepair ราคา 163.90 ริงกิต (1,265 บาท) ประกอบด้วย อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของขมิ้น และน้ำมันปลาที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยลดการอักเสบในร่างกายและฟื้นความเสียหายของกล้ามเนื้อ ส่วนอีกชุดเป็น Vitamunity ซึ่งเน้นการเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายจึงมีวิตามินซีผสมแร่ธาตุสังกะสี วิตามินดี และสารสกัดเมล็ดองุ่น ชุดนี้ราคา 89.90 ริงกิต หรือราว 700 บาท นาบิฮาเล่าว่า อาหารเสริมและวิตามินต่างๆ บริษัทจัดหาจากผู้ผลิตทั่วโลก และทุกตัวผ่านการลงทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียในเรื่องความปลอดภัย และผ่านการรับรองตราฮาลาลแล้ว ลูกค้ามุสลิมจึงวางใจได้ นอกจากนั้น เพื่อให้การบรรจุวิตามินลงซองเป็นไปอย่างถูกหลักอนามัย นาบิฮาลงทุนซื้อเครื่องแพ็กยาเกรดเดียวกับที่วงการเภสัชกรรมใช้และเป็นเครื่องที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ และยุโรป ในส่วนของแพ็กเกจจิ้งหรือซองที่บรรจุวิตามิน นาบิฮาเลือกใช้แพ็กเกจจิ้งที่ใช้เป็นแบบย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจอาหารเสริมและวิตามินแม้จะเป็นตลาดที่ดูสดใสน่าสนใจแต่ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งยังมีความเชื่อว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพราะคุณค่าทางโภชนาการสามารถหาได้จากอาหารก็พอเพียงแล้ว ในจุดนี้ นาบิฮาอธิบายว่าเจ้าของธุรกิจจึงต้องให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เราได้รับสารอาหารจากอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อแต่ละวันก็จริง แต่ร่างกายอาจดูดซึมไปใช้งานได้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่าง หากต้องการวิตามินซีจากส้ม ก็อาจจะต้องกินส้มจำนวนมากในคราวเดียวถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือแม้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีได้เองจากการรับแสงแดด แต่กลับพบว่ามีผู้คนขาดวิตามินจำนวนมากเนื่องจากการหลีกเลี่ยงไม่เจอแดด หรือสวมเสื้อผ้ามิดชิดและคลุมผมคลุมหน้าแบบชาวมุสลิม การรับประทานวิตามินเสริมจึงเป็นทางเลือกที่ดี นี่เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการพยายามจะสื่อถึงผู้บริโภค ซึ่งบริการอาหารเสริมและวิตามินแบบรายเดือนสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ทั้งยังประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อวิตามินเป็นกระปุกหลายกระปุก นาบิฮา ยกตัวอย่างแพ็กเกจ Vitamunity ซึ่งประกอบด้วยวิตามินซี วิตามินดี และสารสกัดเมล็ดองุ่น หากไปหาซื้อเองตามร้าน ต้องซื้อ 3 กระปุกราคาจะแพงกว่าอย่างน้อยก็ 22 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการสั่งซื้อแพ็กเกจ Vitamunity แม้ MyVitalab จะไม่ใช่เจ้าแรกในตลาดอาหารเสริมและยังมีคู่แข่งอีก 2 ราย เช่น Vitamine และ Vitapac ที่ทำธุรกิจ Supplement Subscription คล้ายๆ กัน แต่นาบิฮาก็ตั้งใจพัฒนา MyVitalab ให้มีบริการที่ดียิ่งขึ้น เช่น เพิ่มชุดผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น และในอนาคตมีแผนจะบริการจัดอาหารเสริมและวิตามินส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าแต่ละคน นาบิฮา ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง MyVitalab กล่าวว่าในโลกยุคใหม่ที่การจะดำเนินวิถีชีวิตแบบสุขภาพดีเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย แต่การบริโภคอาหารเสริมและวิตามินในรูปแบบที่ทันสมัยและสะดวกสบายสามารถช่วยได้ โดยมีข้อแม้ว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องทำให้ได้คือความสม่ำเสมอต่อเนื่องในการรักษาระดับสารอาหารต่างๆ ให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ การสมัครสมาชิกเพื่อรับอาหารเสริมและวิตามินรายเดือนจึงเป็นคำตอบที่ลงตัว ในมาเลเซีย การมีผู้เล่นหน้าใหม่ผุดขึ้นในตลาดชี้ให้เห็นว่าบริการวิตามินและอาหารเสริมเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิดทำให้ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การสมัครเป็นสมาชิกรับผลิตภัณฑ์ที่ส่งถึงบ้านรายเดือนก็เป็นบริการที่ง่ายและสะดวก และไม่เฉพาะกับลูกค้าผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัย แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ที่ทำงานหนักก็หันมาดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารเสริมเช่นกัน ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8077.html
30 มิ.ย. 2565
รู้จักสตาร์ทอัพไทย CareerDemy แพลตฟอร์มช่วยคนตกงาน อัพสกิลให้คว้างานใหม่ได้ผ่านฉลุย
รู้จักสตาร์ทอัพไทย CareerDemy แพลตฟอร์มช่วยคนตกงาน อัพสกิลให้คว้างานใหม่ได้ผ่านฉลุย
การเปลี่ยนจาก Passion สู่การลงมือทำ Startup ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ จิระนันท์ ปัลณติยารักษ์, ปิตินันท์ ปัญญาศรีวินิจ และจิรัชญา ศรีทักษิณากุล 3 ผู้ร่วมก่อตั้ง CareerDemy ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนในการสร้าง CareerDemy แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เพิ่มทักษะและจับคู่งานสำหรับคนตกงาน “ วิกฤตโควิดครั้งนี้ส่งผลให้คนจำนวนมากตกงานแบบกะทันหัน อย่างพี่ชายที่เคยทำงานด้าน Interior Design ในบริษัท ตกงานแบบไม่ทันได้ตั้งตัว เราสัมผัสด้วยตัวเองว่าการที่คนหนึ่งคนตกงาน นอกจากตัวเขาเองที่เครียด ครอบครัวและคนใกล้ตัวก็เครียด กลายเป็น Domino Effect และสร้างปัญหาในวงกว้าง เราเลยสนใจอยากทำอะไรบางอย่างที่ช่วยคนกลุ่มนี้” จิรัชญา เล่า Passion เริ่มต้นที่อยากช่วยกลุ่มคนตกงาน เมื่อกลุ่มเป้าหมายชัด ทีม CareerDemy จึงเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้ โดย 3 หลักสูตรแรกเริ่มได้แก่ Entrepreneurship สำหรับคนที่อยากเริ่มธุรกิจ, Digital Marketing สำหรับคนที่อยากเปลี่ยนมาทำงานด้านการตลาดดิจิทัลที่มีความต้องการสูง และ Financial Planning สำหรับคนที่อยากวางแผนทางด้านการเงินระหว่างหางานใหม่ “เราเปิดรับสมัครเพื่อทดลองตลาด เราต้องการพิสูจน์ว่า 3 หลักสูตรที่เราคิดมีคนสนใจตามที่ตั้งสมมุติฐานหรือไม่? หากมีคนสนใจเราก็พัฒนาต่อยอด หากคนไม่สนใจเราจะได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ หลังจากที่ CareerDemy เปิดรับสมัครเพียง 24 ชั่วโมง มีคนสมัครหลายร้อยคน เราและทีมรู้ว่าตอนนี้กำลังมาถูกทางแล้ว” จิระนันท์ เล่าวิธีทดสอบไอเดียซึ่งตรงกับทฤษฎี Lean Startup ที่แนะนำให้ทุกคน สร้างสิ่งใหม่ (Build) และนำสิ่งที่สร้างทดสอบเพื่อวัดผลกับกลุ่มเป้าหมาย (Mesure) หลังจากนั้นเรียนรู้จากการทดลอง (Learn) ในวันที่มีแพลตฟอร์ม Learning Online จำนวนมากทั้งของ Startup และองค์กรขนาดใหญ่ CareerDemy มองหาช่องว่างของตลาดและสร้างความแตกต่าง โดยสร้างหลักสูตร Career Bundle ที่คนไม่มีประสบการณ์สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองจากศูนย์จนสามารถประกอบอาชีพนั้นได้จริง นอกจากนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงานให้กับผู้เรียนจึงร่วมมือกับ Adecco เพื่อส่งต่อคนที่เรียนจบหลักสูตรสู่ตลาดการจ้างงานด้วย “จากที่เริ่มต้นจาก 3 คนที่มี Passion วันนี้เราขยายทีมงาน เรามีพาร์ทเนอร์ทั้ง บริษัทจัดหางาน สถานบันการศึกษาที่ร่วมออกแบบหลักสูตร รวมถึงบริษัทพาร์ทเนอร์ต่างๆ เราเริ่มต้นจาก Passion ที่อยากให้โอกาสทุกคนสามารถพัฒนาทักษะและได้รับโอกาสในการทำงาน แต่การเปลี่ยน Passion สู่การลงมือทำและไปต่อจนสำเร็จได้ เราต้องการวินัย การทำงานเป็นทีม และทักษะการบริหารจัดการ” ปิตินันท์ กล่าวทิ้งท้ายสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มี Passion และสนใจเริ่มทำ Startup ที่มา : https://www.smethailandclub.com/startup-techstartup/8127.html
29 มิ.ย. 2565