หมวดหมู่
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง
14 ธ.ค. 2564
"Wellness Center" ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ
อุบลราชธานี 13 ธันวาคม 2564 ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) เข้าร่วมพิธีเปิดการสัมนาเชิงปฏิบัติการศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ "Wellness Center" การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) และพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกิจกรรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (Company's Wellness Center) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยได้รับเกียรติจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานฯ กล่าวรายงานโดย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม . ซึ่ง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ระยะเวลาดำเนินงานปี 2563-2566 โดยทางโครงการฯ มีแผนดำเนินกิจกรรมศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ (Company's Wellness Center) เพื่อให้เกิด "ศูนย์กลาง" ในการให้คำปรึกษาแบะส่งเสริมดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมในทุกมิติหรือสุขภาพแบบองค์รวม (Total worker health) นำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์สำหรับพนักงานในสถานประกอบการ สำหรับพื้นที่ดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีสถานประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ อาทิ หจก.ศูนย์รถยนต์อุบลเซอร์วิส 1997 โดย นายไพบูลย์ คำศรี, โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวซุ่นกี่ ศรีสะเกษ โดย นายวีระยุทธ ฐิติสมบูรณ์ . สำหรับการจัดกิจกรรมสัมนาเชิงปฏิบัติการศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ "Wellness Center" การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ในครั้งนี้ จัดขึ้นทั้งหมด 2 วัน ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2564 มีการบรรยายถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวคิดการเป็นแกนนำสุขภาพคุณทำงานองค์รวม Work Health Leader ในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมและดูแลสุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ วิทยากรโดย นางสาวรุ้งประกาย วิฤทธิ์ชัย กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค, เทคนิคการให้คำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในสถานประกอบการ นายกันตินินท์ เดชจินดา นักจิตวิทยาองค์กรเครือข่ายคนไทยไร้พุง, การคัดกรองและจัดการเพื่อป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรม ดร.พญ.ชุลีกร ธนธิติกร สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา กรมควบคุมโรค พร้อมทั้งหลักการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพแบบองค์รวมและการจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง สำหรับวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เป็นการบรรยายกฏหมายและการควบคุมบริโภคยาสูบในสถานประกอบการและรูปแบบการส่งเสริม การลด ละ เลิกบุหรี่ สุราและสิ่งเสพติดในสถานประกอบการ วิทยากรโดย นายจิระวัฒน์ อยู่สบาย รองผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค, การคัดกรองและจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อย ผศ.นายแพทย์ สมเกียรติ แสวงวัฒนาโรจน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, การประเมินด้านสุขภาพจิตและการจัดการความเครียดคนทำงาน นางสาวทิพวรรณ อังศิริ ผู้จัดการส่วนกลุ่มความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม องค์กรต้นแบบ Wellness Center . เจ้าหน้าที่ร่วม นายพัฒนพงษ์ กลิ่นลั่นทม, นายสุมิตร ส่งเสริม, นางแพงศรี พงษ์เกษม, นายธนเดช ศฤงคารนันต์, นางสาวนราวดี จันทร์จำปา, นายอัครภณ จำปารัตน์ . #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่7
13 ธ.ค. 2564
หุ่นยนต์ทำสลัด Sally ตัวเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ 24 ชั่วโมง
นักศึกษาที่ College of the Holy Cross ได้เชฟคนใหม่ที่พร้อมจะทำการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสลัดผักชนิดต่างๆ ให้กับนักศึกษา และที่สำคัญเขาพร้อมจะทำหน้าที่นี้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่านักศึกษาจะนอนดึกกินไม่เป็นเวลามากมายขนาดไหน Sally เอาอยู่ Sally หุ่นยนต์นักทำสลัดเป็นผลงานของ Chowbotics เริ่มทำการติดตั้งเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักศึกษาใน College of the Holy Cross งานนี้เป็นการให้บริการอาหารเพื่อสุขภาพ ทดแทนการสั่งพิซซ่าในยามค่ำคืน หุ่นยนต์นักปรุงตัวนี้จะถูกซ่อนเอาไว้ในเครื่องหยอดเหรียญที่มาพร้อมหน้าจอสัมผัส ลูกค้าสามารถทำการเลือกส่วนผสมที่หลากหลายของสลัดที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นชนิดของผัก ชนิดของน้ำสลัด เรื่อยไปจนถึงเนื้อสัตว์ที่ต้องการ จากนั้นลูกค้าก็แค่วางชามรอ หุ่นยนต์จะเริ่มกระบวนการทำสลัดตามส่วนผสมที่ลูกค้าเลือก แล้วก็ทำการวางลงในชามที่ลูกค้าเตรียมไว้ เท่านี้ก็พร้อมเสิร์ฟแล้ว การที่ได้เลือกให้ทำการติดตั้งและใช้งานใน Holy Cross ถือว่าหุ่นยนต์ตัวนี้สอบผ่านในทุกขั้นตอน ทั้งเรื่องของความสะอาดและความมีประสิทธิภาพ ตอนนี้ Sally กำลังได้รับความนิยมมีการนำไปติดตั้งมากกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายอยู่ในสถานที่ต่างๆ ที่มีความต้องการตัวเลือกของอาหารเพื่อสุขภาพแบบ 24 ชั่วโมง ที่มา : www.smartsme.co.th
13 ธ.ค. 2564
นักวิจัยของ Google สอน AI ให้รู้จักกลิ่น
เป็นเวลาหลายสิบปีที่นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะทำนายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของโมเลกุลและกลิ่นของมัน ในเรื่องของสีนักวิทยาศาสตร์สามารถดูที่ความยาวคลื่นของแสงแล้วระบุได้ว่ามันคือสีอะไร แต่เมื่อพูดถึงเรื่องของกลิ่นนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้เพียงรูปร่างของโมเลกุลเพื่อระบุกลิ่นของมันได้ นักวิจัยจาก Google Brain Team หวังว่า AI อาจจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ได้พวกเขากำลังทำการฝึกฝน AI เพื่อให้รับรู้เรื่องของกลิ่น นักวิจัยได้สร้างชุดข้อมูลเกือบ 5,000 แบบของโมเลกุล ที่ระบุว่าเป็นโมเลกุลของส่วนประกอบต่างๆ ของน้ำหอม เพื่อใช้ในการฝึกฝน AI ให้รู้จักเชื่อมโยงรูปแบบของโมเลกุลเข้ากับคำอธิบายที่พวกมันได้รับ จากนั้นนักวิจัยก็เริ่มใช้กลิ่นเพื่อทำการทดสอบ พบว่า AI สามารถทำนายกลิ่นได้จากโครงสร้างโมเลกุล อย่างไรก็ตามนักวิจัยของ Google เชื่อว่าการฝึกฝน AI เพื่อเชื่อมโยงรูปแบบของโมเลกุลกับกลิ่น เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ มันจะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับประสาทสัมผัสเรื่องกลิ่นของมนุษย์ รวมถึงวิธีใหม่ๆ ในการผลิตน้ำหอมสังเคราะห์ งานวิจัยลักษณะนี้ Google ไม่ได้ทำอยู่บริษัทเดียว ที่ Barbican Center ของกรุงลอนดอนเมื่อต้นปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องเพื่อสร้างกลิ่นของดอกไม้ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ในรัสเซียมีการใช้ AI ในการดมกลิ่นของก๊าซอันตราย และ IBM กำลังทดลองใช้น้ำหอมที่ AI สร้างขึ้น ที่มา : www.smartsme.co.th
12 ธ.ค. 2564
Ganaz ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการแรงงานเกษตรกร
Ganaz สตาร์ทอัพที่ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องของการขาดแคลนแรงงานด้านการเกษตร ซึ่งตอนนี้กลายเป็นปัญหาใหญ่ไปทั่วโลกแล้ว นี่คือ SaaS (Software as a Service) ของภาคการเกษตรอย่างแท้จริง แพลตฟอร์มของ Ganaz ช่วยให้บริษัททำการสื่อสารกับแรงงานจำนวนมากผ่านทางข้อความจากศูนย์ควบคุมกลาง นอกจากจะทำการเชื่อมต่อแรงงานเพื่อมอบงานให้แล้ว ยังมีระบบที่คอยบริหารจัดการเรื่องเงินค่าจ้างให้อีก ช่วยให้แรงงานสามารถบริหารจัดการเงินค่าแรงของตนเองได้อย่างสะดวก แน่นอนว่ามันรวมถึงการโอนเงินกลับประเทศบ้านเกิดด้วย สตาร์ทอัพรายนี้มองเห็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการสร้างซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องทำการจ้างแรงงนา ในภาคเกษตรกรรมแรงงานจำนวนมากเป็นแรงงานต่างชาติและเข้ามาทำงานตามฤดูกาล ทุกวันนี้มีจำนวนแรงงานเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ การที่มีซอฟต์แวร์คอยบริหารจัดการจะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ตั้งแต่การว่าจ้างจนถึงการจ่ายค่าแรง Ganaz ได้รับการระดมทุนที่ 2.1 ล้านดอลลาร์ สำหรับการสร้างแพลตฟอร์มที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ จัดการเรื่องของคนงานในภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิต ตอนนี้ Ganaz มีพนักงาน 7 คนและกำลังเปิดรับคนที่มีความสามารถทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ที่มา : www.smartsme.co.th
11 ธ.ค. 2564
สตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์ ยกระดับการทำพิซซ่าให้กลายเป็นงานด้านบริการ
Picnic สตาร์ทอัพที่สร้างชื่อจากการใช้หุ่นยนต์ผลิตพิซซ่า ตอนนี้ได้ทำการระดมทุนเพิ่มเพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการรับผลิตอาหารให้กับร้านค้าต่างๆ ที่ไม่ต้องการลงทุนเรื่องของหุ่นยนต์ Picnic เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของระบบประกอบพิซซ่าอัตโนมัติ ที่ทำการเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องให้กลายเป็นแพลตฟอร์มการผลิตพิซซ่าจำนนวนมาก ในรูปแบบที่สามารถกำหนดการตั้งค่าในการผลิตได้แล้ว โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผลิดพิซซ่าขนาด 18 นิ้ว ในความเร็ว 180 ถาดต่อชั่วโมง หรือจะเป็นขนาด 12 นิ้ว ในความเร็ว 300 ถาดต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการออกแบบให้ใช้พื้นที่ในห้องครัวได้อย่างเหมาะสม สามารถติดตั้งบน food trucks และร้านแล้วตู้ kiosks ได้ด้วย ล่าสุดเปิดบริการแบบ "Robotics-as-a-Service" โดยให้ลูกค้าเลือกที่จะทำการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการหุ่นยนต์ทำพิซซ่า โดยไม่ต้องทำการซื้อและลงทุนทั้งระบบ ที่มา : www.smartsme.co.th
10 ธ.ค. 2564
สตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์ ยกระดับการทำพิซซ่าให้กลายเป็นงานด้านบริการ
Picnic สตาร์ทอัพที่สร้างชื่อจากการใช้หุ่นยนต์ผลิตพิซซ่า ตอนนี้ได้ทำการระดมทุนเพิ่มเพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการรับผลิตอาหารให้กับร้านค้าต่างๆ ที่ไม่ต้องการลงทุนเรื่องของหุ่นยนต์ Picnic เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของระบบประกอบพิซซ่าอัตโนมัติ ที่ทำการเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องให้กลายเป็นแพลตฟอร์มการผลิตพิซซ่าจำนนวนมาก ในรูปแบบที่สามารถกำหนดการตั้งค่าในการผลิตได้แล้ว โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผลิดพิซซ่าขนาด 18 นิ้ว ในความเร็ว 180 ถาดต่อชั่วโมง หรือจะเป็นขนาด 12 นิ้ว ในความเร็ว 300 ถาดต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการออกแบบให้ใช้พื้นที่ในห้องครัวได้อย่างเหมาะสม สามารถติดตั้งบน food trucks และร้านแล้วตู้ kiosks ได้ด้วย ล่าสุดเปิดบริการแบบ "Robotics-as-a-Service" โดยให้ลูกค้าเลือกที่จะทำการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการหุ่นยนต์ทำพิซซ่า โดยไม่ต้องทำการซื้อและลงทุนทั้งระบบ ที่มา : www.smartsme.co.th
10 ธ.ค. 2564
IoT & Low cost automation เสริมองค์ความรู้ SMEs เพิ่ม Productivity
อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1-3 และ 7-8 ธันวาคม 2564 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM IPC7) จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "พัฒนาการผลิตยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี IOT & Low Cost Automation" ณ ห้องประชุมผาแต้ม ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 โดย ดร.รุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายกฤษณะ นอขุนทด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรม กล่าวรายงานโดย นายจักรพงศ์ มูลสมบัติ นักเทคนิคอุตสาหกรรม ส3 มีผู้เข้าอบรมจำนวน 20 ท่าน ซึ่งเทคโนโลยี IoT & Low cost automation หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า “ระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ” ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งทักษะความรู้ ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ กระบวนการอัตโนมัติต้นทุนต่ำ คือการนำหลักการของ Lean มาพัฒนาให้เกิดความเสถียร ในกระบวนการผลิต ควบคู่ไปกับความรู้ด้าน Karakuri Kaizen หรือการใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อให้เกิดพลังงานจลน์ แทนการใช้พลังงานไฟฟ้ามาออกแบบระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม โดยวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมในครั้งนี้ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย IoT & Low cost automation เพิ่มองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ สร้างความเข้าใจ ในการนำระบบ IoT & Low cost automation มาประยุกต์ใช้ ในสถานประกอบการ และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ ไปพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือผู้ประกอบการ บุคลากรภาคอุตสาหกรรม และผู้ที่สนใจทั่วไป
09 ธ.ค. 2564
Unocups แก้วกาแฟที่ได้รับการออกแบบใหม่ ช่วยลดการใช้ฝาพลาสติกได้ 100%
Unocups ผลิตผลของนักออกแบบผลิตภัณฑ์และสถาปนิก สามารถเก็บของเหลวร้อนได้โดยไม่ต้องใช้ฝาพลาสติกแบบเดิมอีกต่อไป Unocup มุ่งมั่นที่จะลดปริมาณขยะพลาสติกจำนวนกว่า 8 ล้านตันต่อปีที่ไหลลงสู่มหาสมุทร โดยแทนที่ฝาพลาสติกด้วยการออกแบบแก้วแบบใหม่ ที่พับด้านบนให้เป็นฝาได้ ทำให้ลดจำนวนของฝาพลาสติกได้ 100% ถ้ามีการใช้อย่างกว้างขวาง แก้วกาแฟได้รับการออกแบบมาเพื่อลดของเสียเป็นหลัก แต่ก็ยังคงสามารถใช้งานได้ถูกหลักสรีรศาสตร์ของแก้วทั้งหมด ส่วนที่พับเป็นฝาปิดสามารถเปิดปิดได้ง่าย และไม่มีชิ้นส่วนที่จะทำให้เกิดขยะพลาสติกแม้แต่ชิ้นเดียว ตอนนี้ความพยายามที่จะผลิตและจัดจำหน่ายแก้วกาแฟรีไซเคิลไปยังร้านกาแฟและร้านอาหาร พวกเขาได้ทำการเปิดแคมเปญ Kickstarter โดยหวังว่าจะได้ทุนระดับ 14,500 ดอลลาร์ เพื่อช่วยนำแก้วที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ออกสู่ตลาดอย่างเต็มรูปแบบ งานดีๆ แบบนี้คงต้องเข้าไปช่วยกันหน่อยแล้ว เพราะนอกเหนือจากเป็นการตัดพลาสติกออกไปแล้ว ผู้พัฒนา Unocups ยังบอกว่าการออกแบบของพวกเขายังเป็นมิตรกับผู้ใช้อีกด้วย ที่มา : www.smartsme.co.th
09 ธ.ค. 2564
วิศวกรอินเดียผุดไอเดียช่วยโลก สร้างอิฐที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล
อิฐที่ทำจากพลาสติกของเขาหนึ่งก้อน ช่วยกำจัดขยะพลาสติกไปได้ 1.6 กิโลกรัม ขั้นตอนการทำไม่ได้ใช้การเผาไหม้จึงช่วยลดการส่งคาร์บอนขึ้นไปในชั้นบรรยากาศได้อีก อินเดียมีเตาเผาอิฐมากกว่า 140,000 แห่ง ตัวเลขจากงานวิจัยคาดการณ์ว่าเตาเผาเหล่านี้ทำการเผาไหม้ถ่านหินประมาณ 15 - 20 ล้านตันต่อปี สิ่งนี้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่า 40 ล้านตัน หากลดการเผาไหม้นี้ลงได้คงช่วยลดอุณหภูมิของโลกลงไปได้ นอกจากนี้ยังพบว่าในอินเดียมีขยะพลาสติกในแต่ละวันมากกว่า 25,000 ตัน และประมาณ 40% เป็นขยะที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ หากสามารถนำขยะพลาสติกเหล่านั้นมาใช้ทำอะไรบางอย่างก็จะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกไปได้ จากแนวคิดเพื่อทำการแก้ไขปัญหาทั้งสองอย่างนี้ Jadavpur Banerjee นักศึกษาคณะวิศวกรรมทำงานร่วมกับเพื่อนๆ เพื่อนำเสนอ Plastiqube อิฐทางเลือกที่ทำมาจากขยะพลาสติก ผ่านทางกิจการเพื่อสังคมที่ชื่อว่า Qube Plastiqube เกิดขึ้นจากขยะพลาสติกอย่างขวดน้ำและถุงพลาสติกที่นำมาทำความสะอาด แล้วทำการตัดเป็นชิ้นๆ เพื่อนำไปอัดเข้ากับแม่พิมพ์เพื่อให้ได้ก้อนอิฐพลาสติกออกมา ความพิเศษของอิฐชนิดนี้คือมันไม่ต้องใช้ปูนในการเชื่อมต่ออิฐแต่ละก้อน เนื่องจากตัวของอิฐมีการออกแบบมาให้คล้ายคลึงกับชิ้นส่วนของ Lego ทำให้อิฐแต่ละก้อนสามารถเชื่อมต่อกันได้เอง Plastiqube สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้จำนวนมาก นอกจากนี้ตัวอิฐแต่ละก้อนช่วยกำจัดขยะพลาสติกได้มากถึง 1.6 กิโลกรัม นี่คือผลงานที่เกิดจากการพยายามแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างการปล่อยคาร์บอนไอออกไซด์และเรื่องของขยะพลาสติก หากก้อนอิฐของเขาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ก็จะทำให้อินเดียสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศได้ถึง 2 เรื่องเลยทีเดียว ที่มา : www.smartsme.co.th
08 ธ.ค. 2564