กระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกพลังเครือข่ายประชารัฐ เปิดมิติใหม่ พลิกโฉม SME ไทยยุค 4.0 ในงาน SME Transform #พร้อมเปลี่ยน ประชารัฐร่วมใจ เชื่อม SME ไทยสู่สากล
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน SME Transform #พร้อมเปลี่ยน ประชารัฐร่วมใจ เชื่อม SME ไทยสู่สากล ซึ่งจัดโดย กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ณ อาคารชาเลนเจอร์ฮอลล์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมุ่งหวังขับเคลื่อนและยกระดับ SME สู่ยุค 4.0 ผ่านมาตรการส่งเสริมพัฒนาและมาตรการด้านการเงิน ในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีศักยภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม/ภาพข่าว
18 พ.ค. 2561
ก.อุตฯ ดึงเอกชนรายใหญ่ ทุ่มเต็มที่ตั้งศูนย์สาธิตระบบการผลิตยุคใหม่ เสริมแกร่ง SMEs ไทย
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม หรือ Industry Transformation Center : ITC เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงภาคเอกชนต่าง ๆ ที่ผนึกกำลังตามนโยบายแนวทางประชารัฐในการช่วยเหลือพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำทางธุรกิจ การวิจัยเชิงพาณิชย์ ออกแบบและผลิต รวมทั้ง ด้านการเงิน ตลอดจนการบ่มเพาะผู้ประกอบการให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ SMEs สามารถปรับตัวและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลและพัฒนาให้ผู้ประกอบการไทยก้าวไปสู่ Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังให้บริการในส่วนของ Co-Working Space การบริการเครื่องจักรกลางที่ได้รับความร่วมมือจากองค์กรขนาดใหญ่ให้ยืมเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าไปใช้งานได้ เช่น เครื่องสกัดด่วน เครื่องทำอบแห้ง เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย ฯลฯ โดยมุ่งหวังให้ศูนย์ ITC เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยงงานวิจัยและพัฒนา ตลอดจนเป็นสถานที่ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ไปสู่ภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ให้สามารถพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต รวมถึงบุคลากรในประเทศให้สามารถเปลี่ยนแปลง หรือ Transform สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลากว่า 8 เดือน นับจากการเปิดตัวของศูนย์ ITC กล้วยน้ำไท อย่างไม่เป็นทางการ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้ามารับบริการกว่า 3,800 ราย ได้พัฒนาผลงานนวัตกรรมให้ SMEs ไปแล้วกว่า 100 ชิ้นงาน คิดเป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
11 พ.ค. 2561
Thai Rice Flagship Store หนุนข้าวไทยขายออนไลน์ในจีน
พาณิชย์จับมืออาลีบาบา ดันข้าวไทยส่งออกจีน ผ่าน Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ Tmall.comกระทรวงพาณิชย์เปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ Tmall.com เพื่อสนับสนุนข้าวไทยขายออนไลน์ในจีน โดยได้รับเกียรติจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายแจ็ก หม่า ประธานบริหารบริษัทอาลีบาบา กรุ๊ป ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักในการทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัล โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสินค้าและขยายโอกาสทางการค้าไปยังตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทาง e-Commerce เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ไปต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่ง Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์Tmall.com เป็นความร่วมมือนำร่องเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ/เกษตรกร/ผู้ส่งออกข้าว และผลิตภัณฑ์จากข้าวไทยสามารถเข้าถึงตลาด e-Commerce ในสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อย่างเป็นรูปธรรม และอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรชนิดอื่นในลำดับต่อไป "ปัจจุบันสินค้าไทยกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าเกษตรและอาหารของไทย เนื่องจากมีชื่อเสียงเรื่องคุณภาพสินค้าที่ดี ซึ่งผู้ประกอบการในกลุ่มแรกที่ได้รับการสนับสนุนให้ขึ้นขายบน Thai Rice Flagship Store ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ขายสินค้าข้าว และผลิตภัณฑ์จากข้าว และเป็นสมาชิกเว็บไซต์ Thaitrade.com ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลไทย ที่การันตีคุณภาพและความน่าเชื่อถือของสินค้าสู่ผู้บริโภคชาวจีน" นายสนธิรัตน์ กล่าวนอกจากการเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ Tmall.com อย่างเป็นทางการแล้ว นายสนธิรัตน์ ยังระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับบริษัทอาลีบาบา กรุ๊ป เปิดตัวแคมเปญส่งเสริมการขายทุเรียนผ่านเว็บไซต์ Tmall.com อย่างเต็มรูปแบบ และมีนโยบายในการส่งเสริมผลไม้อื่นๆ ของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลไม้ที่เป็นที่ชื่นชอบของตลาดจีน อาทิ มังคุด มะม่วง มะพร้าว น้อยหน่า เป็นต้น นับได้ว่าเป็นทิศทางที่ดีของตลาดผลไม้ไทยในการเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ของจีน พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการในทุกระดับให้เข้าถึงการค้าผ่านช่องทาง e-Commence ผ่านความร่วมมือที่มีร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม และ Alibaba Business School เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการไทยในการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนสินค้าและการบริการจากผู้ประกอบการไทยให้ไปสู่เวทีการค้าต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้นทั้งนี้ Tmall.com เป็นเว็บไซต์ค้าปลีก (B2C) ที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้บริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป ครอบคลุมสินค้าทุกประเภท และเข้าถึงผู้บริโภคกว่า 1,400 ล้านคนทั่วประเทศ โดยการจัดตั้ง Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ Tmall.com จะเป็นการขยายโอกาสการจัดจำหน่ายสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวไทยไปยังผู้บริโภครายย่อยในจีน ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ขายของThaitrade.com เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดจีนในลำดับต่อไป
25 เม.ย. 2561
กระทรวงอุตฯ จัดมหกรรมคิวซี ครั้งที่ 32 ยกระดับรัฐ - เอกชน มุ่งสู่ Thailand 4.0
กรุงเทพฯ 23 เมษายน 2561- กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จับมือสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย พัฒนาคุณภาพของภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ผ่านการจัดงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 เพื่อส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนได้นำเสนอกิจกรรมของกลุ่มคุณภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของผู้ปฏิบัติงานจริง พร้อมยกระดับคุณภาพภาคผลิตและภาคบริการด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้เป็นกลไกในการพัฒนาพร้อมนำพาประเทศไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เป็นกลไกเพื่อยกระดับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสามารถลดต้นทุน และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทยสู่มาตรฐานสากล การจัดงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 มหกรรมคุณภาพภาครัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 มหกรรมคุณภาพภาคราชการและโรงพยาบาล ประจำปี 2561 และมหกรรมโครงการคุณภาพข้ามสายงาน ครั้งที่ 1 ในวันนี้ (23 เม.ย. 61) กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กสอ.ร่วมกับสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนนำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพหรือกลุ่มคิวซีเข้าสู่การแก้ไขปัญหาในองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยในปีนี้เป็นการทำกิจกรรมคุณภาพในหน่วยงานให้แพร่หลายยิ่งขึ้นและพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเผยแพร่และสนับสนุนกิจกรรมคุณภาพในทุก ๆ อุตสาหกรรม ภาคราชการ ภาครัฐวิสาหกิจ ทั้งการผลิตและการบริการตลอดจนเปิดโอกาส ให้กลุ่มคุณภาพรุ่นใหม่ ๆ ได้มีเวทีสำหรับการเสนอผลงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือกกลุ่มคุณภาพยอดเยี่ยมจากภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคราชการและโรงพยาบาล เป็นตัวแทนของประเทศไทย เพื่อไปเข้าร่วมการนำเสนอผลงานในมหกรรมคุณภาพนานาชาติต่อไป “การพัฒนาคุณภาพงานนั้นบุคลากรถือเป็นส่วนสำคัญที่ต้องได้รับการพัฒนาควบคู่ เนื่องจากสินค้าและบริการจะพัฒนาไม่ได้หากบุคลากรไม่มีจิตสำนึกและไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ทุกส่วนงาน ภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมพร้อมรับการแข่งขันในเวทีการค้าโลก” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว ด้านนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า การจัดมหกรรมคุณภาพแห่งประเทศไทยในปีนี้ กำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 23 – 27 และวันที่ 30 เมษายน 2561 รวม 6 วัน ซึ่งได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐวิสาหกิจและภาคราชการโรงพยาบาลต่าง ๆ ส่งกลุ่มคุณภาพเพื่อเข้าร่วมเสนอผลงาน ทั้งสิ้น 129 กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็นภาคอุตสาหกรรม 49 กลุ่ม ภาครัฐวิสาหกิจ 12 กลุ่ม ภาคราชการและโรงพยาบาล 54 กลุ่ม มหกรรมโครงการคุณภาพข้ามสายงาน 5 กลุ่ม โดยผู้เข้าร่วมงานจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากการเสนอผลงานของกิจกรรมที่หลากหลาย โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานวันละประมาณ 400 คน สำหรับในปี 2560 ที่ผ่านมา มีผู้ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอผลงานคุณภาพเป็นจำนวนทั้งสิ้น 117 กลุ่ม ประกอบด้วย ภาคอุตสาหกรรม 52 กลุ่ม หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 17 กลุ่ม หน่วยงานราชการ และโรงพยาบาล 48 กลุ่ม โดยกลุ่มคุณภาพที่สามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรได้ตั้งแต่หลักล้านบาทไปจนถึง 100 ล้านบาท อาทิ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 300 ล้านบาท บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จำกัด ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 288 ล้านบาท บริษัท ซี พี แรม จำกัด ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 15.58 ล้านบาท บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 15 ล้านบาท บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 9.1 ล้านบาท บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 3.6 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มคุณภาพยอดเยี่ยมที่ได้ร่วมเสนอผลงานในงานมหกรรมครั้งนี้จะได้รับคัดเลือกไปเสนอผลงานในระดับนานาชาติ โดยในปี 2560 มีกลุ่มคุณภาพยอดเยี่ยมเข้าร่วมเสนอผลงานระดับนานาชาติในงาน International Convention on Quality Control Circles 2017(ICQCC) ณกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 14 กลุ่ม จาก 9 หน่วยงาน อาทิ บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม (สระบุรี) จำกัด ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จำกัด และบริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จำกัด (มหาชน) จ.นครปฐม เป็นต้น และเข้าร่วมเสนอผลงาน ในงาน International Quality & Productivity Convention 2017 (IQPC 2017) ณ เมืองปาดัง เกาะสุมาตรา ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย จำนวน 18 กลุ่ม จาก 12 หน่วยงาน อาทิ การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย บริษัท ซีพี แรม จำกัด บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติราชินี เป็นต้น
23 เม.ย. 2561
“กอบชัย” แจงชัดเซ็น MOU กับ Alibaba ไทย ไม่เสียประโยชน์ ปัดข่าวข้อมูลผู้ประกอบการไทยรั่วไหล ย้ำ MOU 4 ฉบับ เน้นพัฒนา SMEs ทุกระดับ
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยข่าวการเซ็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับกลุ่มบริษัท อาลีบาบา จะทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบทางการค้า ย้ำไทยไม่เสียเปรียบแต่จะเป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจออนไลน์ของไทยเข้าสู่ตลาดสากลได้มากขึ้น พร้อมระบุ MOU ดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิทางบริษัท อาลีบาบา ในการดึงข้อมูลของผู้ประกอบการไทยออกไปได้ แต่กลับช่วยให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดการค้าเสรีได้ง่ายขึ้นและได้ประโยชน์จากข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดเป้าหมายผ่านการวิเคราะห์ของบริษัทอาลีบาบาอีกด้วย.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
21 เม.ย. 2561
ก.อุตฯ จับมือ แจ็ค หม่า ลงนาม MOU ดันเอสเอ็มอีไทยลงตลาดอีคอมเมิร์ซ
วันนี้ (19 เม.ย.61 ) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายแจ็ค หม่า ประธานกรรมการบริหารกลุ่มอาลีบาบา และนายลวี่ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยานลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับบริษัทในเครืออาลีบาบากรุ้ป เพื่อส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 โดยมี นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นเกียรติ ณ โรงแรมแบ็งค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค การลงนามความร่วมมือบันทึกความเข้าใจ 4 ฉบับ ที่หน่วยงานภาครัฐของไทยลงนามร่วมกับบริษัทเครืออาลีบาบากรุ้ป ได้แก่ 1. ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ระหว่าง สำนักงาน อีอีซีและ Alibaba.com Singapore E-Commerce Private Limited 2. ความร่วมมือด้านการลงทุนในศูนย์สมาร์ท ดิจิทัล ฮับ ในพื้นที่ อีอีซี ระหว่างสำนักงานอีอีซี กรมศุลกากร และบริษัท Cainao Smart Logistics Network Hong Kong Limited 3. ความร่วมมือด้านการพัฒนาเอสเอ็มอีและบุคลากรในด้านดิจิทัล และการส่งเสริมธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์ซ ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และ Alibaba Business School 4. ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวผ่านดิจิทัลและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัท Zhejiang Fliggy Network Technology Company Limited ภายในงาน ยังมีการเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ Tmall.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ระดับโลกที่เน้นร้านค้าแบรนด์ชั้นนำหรือร้านค้าตัวแทนที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะช่วยผลักดันยอดขายผลิตผลทางการเกษตรเริ่มต้นจากข้าวและขยายไปยังผลไม้อื่นๆของไทย ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และอาลีบาบา ทั้งนี้ ในช่วงเช้า นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหาร Alibaba Group เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยถึงโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและส่งเสริมบุคลากรในด้านธุรกิจดิจิทัล รวมถึงการจับมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย
19 เม.ย. 2561
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีอัตลักษณ์ส่วนภูมิภาคสู่สากล
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตและแข่งขันได้ การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม และการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร โดยการสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบธุรกิจการวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ การพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว ให้มีความยั่งยืน และพัฒนาสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด หรือผู้ซื้อ เป็นความท้าทายที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำธุรกิจส่งออก หรือนำเข้า หรือผู้ที่ทำธุรกิจภายในประเทศ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชนจะต้องเรียนรู้และปรับตัว รองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจ หรือสร้างการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่ท้าทายความสำเร็จ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมานั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน มีเอกลักษณ์ มีความแตกต่าง และจุดเด่นของการออกแบบเพื่อดึงดูดลูกค้า ทั้งผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าให้เหนือคู่แข่ง สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผู้ผลิตสินค้า ใช้จุดแข็งชุมชนทางด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตและ ภูมิปัญญา เพื่อเชื่อมโยงสู่ภาคการผลิตและบริการในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าเพื่อขยายโอกาสทางการตลาดมากยิ่งขึ้น สามารถยกระดับจากท้องถิ่นไปสู่ระดับประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศได้ในที่สุด ทั้งนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล จะต้องอาศัยบรรจุภัณฑ์เป็นเสมือนสื่อประชาสัมพันธ์เป็นตัวแทนของผู้ผลิต เพื่อช่วยส่งเสริมให้สินค้าเป็นที่จดจำง่าย ซึ่งจะนำไปสู่การกระจายออกของสินค้าเป็นวงกว้าง ที่ผ่านมาผู้ประกอบการ OTOP ของไทย ยังไม่สามารถดำเนินการเรื่องนี้ด้วยตนเองได้มากนัก เนื่องด้วยปัญหาหลายประการ อาทิ ปัญหาเงินทุน การขาดความรู้ความเข้าใจ ด้านการตลาด ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และได้ละเลยความสำคัญของการพัฒนาด้านเหล่านี้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดลดลง และไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การขยายตัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีอัตราเพิ่มขึ้น และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่แสดงความจำนงขอรับการบริการ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ยังมีเพิ่มมากอย่างต่อเนื่องเช่นกัน หน่วยงานภาครัฐ จึงจำเป็นที่จะต้องตอบสนองความต้องการและช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการให้บริการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างสร้างสรรค์ต่อไป” วันที่ 18 เมษายน 2561 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 นางวีระวรรณ ปัณฑรสูตร มอบหมายให้ นางละเอียด ไขศรีมธุรส ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม, นางละออง ธงสอาด รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน, นายสุเทพ ทุตา, นายศุภชัย สืบวงศ์ ร่วมติดตามการดำเนินโครงการ ร่วมกับที่ปรึกษาโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีอัตลักษณ์ส่วนภูมิภาคสู่สากล หมู่บ้านซะซอมโฮมสเตย์ ผ้าย้อมสีย้อมสีธรรมชาติ อ.โขงเจียม จ.อุบล ราชธานี , กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จ.อุบล ราชธานี ขอบคุณผู้ประกอบการทุกท่านที่เข้ามาร่วมใช้บริการกันนะครับ ---------------------------------------------------- สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ยังเปิดบริการฟรี!! เหมือนเดิม จันทร์-ศุกร์ เวลาราชการ อาทิ บริการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พิมพ์ฉลากสินค้า เครื่องติดฉลากสินค้่า เครื่องปิดฝากล่อง เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาติดต่อ และทดสอบใช้งานเครื่องได้เลยนะครับ หรือเข้ามาขอรับคำปรึกษาแนะนำด้านการดำเนินกิจการหรือธุรกิจอื่นๆได้ในเวลาราชการครับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ https://ipc7.dip.go.th/ ---------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี (1) เป็นหน่วยงานวิชาการในการเสนอความเห็นข้อเสนอแนะ สําหรับการกําหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และจัดทําแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคให้เกิดการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์ในกลุ่มจังหวัดและจังหวัดที่รับผิดชอบ (2) ดําเนินการเกี่ยวกับการผลักดันนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคไปสู่การปฏิบัติ (3) ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาองค์ความรู้รูปแบบ หลักสูตรต่าง ๆ ระบบและเทคนิควิธีการในการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ (4) เป็นศูนย์กลางในการให้คําปรึกษาแนะนําการบริการข้อมูล การออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีบ่มเพาะธุรกิจและสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงการดําเนินงานกับสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริการ และประสานการดําเนินงานตามนโยบาย แนวทางและมาตรการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 045314216-7 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th
18 เม.ย. 2561
“แจ็ค หม่า”มาไทย 19 เมษายนนี้ เอ็มโอยูลงทุนอีอีซี 1.1 หมื่นล้าน
อาลีบาบา” ทุ่มลงทุนระยะแรก 11,000 ล้าน ผุด Smart Digital Hub ใน EEC พร้อมขนข้าว-ทุเรียนไทยขึ้นเว็บขายทั่วจีน นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยแผนการลงทุนของ Alibaba Group บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ว่า อาลีบาบาได้เตรียมแผนการก่อสร้างโครงการ Smart Digital Hub ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มูลค่าลงทุน 11,000 ล้านบาท ที่จะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2561-2562 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในโครงการดังกล่าวจะประกอบไปด้วย ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ศูนย์กระจายสินค้า การขนส่งที่จับมือกับทางไปรษณีย์ไทย รวมถึงการลงทุนด้านระบบไอที ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่เปิดให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่สามารถวางระบบได้เข้าไปร่วม ซึ่ง Smart Digital Hub เป็นโครงการที่จะอาศัยเทคโนโลยีด้านการประมวลข้อมูลโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับจีน การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) และไปยังที่อื่นทั่วโลก และส่วนที่เป็นโครงการความร่วมมือ คือ 1. การพัฒนาบุคลากรในด้านดิจิทัลและการส่งเสริมธุรกิจผ่าน E-Commerce เพื่อพัฒนากลุ่มคนเก่งหรือดาวเด่นด้านดิจิทัล (Digital Talent) โดยอาลีบาบาได้เสนอให้วิทยาลัยธุรกิจอาลีบาบา หรือ Alibaba Business School (ABS) มาร่วมสนับสนุนการใช้ Platform E-Commerce โดยจะเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนสร้างเครือข่าย (Networking) กับดาวเด่นหรือ Talents ทั่วโลกที่ประเทศจีน 2. โครงการร่วมส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลอีคอมเมิร์ซ สำหรับผู้ประกอบการ SME และ Startup ของไทย โดยอาลีบาบาจะจัดทีมงานร่วมลงพื้นที่กับทีมงานของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยใช้เครือข่าย ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 สู่อนาคต (Industry Transformation Center: ITC) ในระดับภาคและจังหวัดของกระทรวงอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถพัฒนาและเข้าถึงผู้ประกอบการ SME และผู้ประกอบการ Startup ระดับชุมชนทั่วประเทศ 3.อาลีบาบา จะร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในการจัดทำ Thailand Tourism Platform สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ เพื่อจัดกิจกรรมด้านการตลาดร่วมกันบนออนไลน์แพลทฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงกับสื่อและช่องทางต่างๆ ของ ททท. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองและการท่องเที่ยวในระดับชุมชน เช่น การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเมืองรองและสินค้าชุมชน 4.กระทรวงพาณิชย์จะร่วมมือกับอาลีบาบาในการเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ Tmall.com เพื่อเป็นตัวกลางที่จะนำสินค้าเกษตรอย่าง ข้าว และทุเรียน ขายทางออนไลน์ในตลาดจีนเป็นหลัก โดยเตรียมเข้าหารือเพื่อลงรายละเอียดกับทางกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ถึงปริมาณข้าวและทุเรียนว่าต้องการจำนวนเท่าไร ทั้งนี้ ในวันที่ 19 เม.ย. 2561 นายแจ็ค หม่า ประธานกรรมการบริหาร Alibaba Group จะเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อลงนามความร่วมมือด้าน Smart Digital Hub and Digital Transformation Strategic Partnership ซึ่งประกอบไปด้วย MOU 4 ฉบับ กับรัฐบาลไทย โดยจะเน้นไปที่เรื่องของการพัฒนา คือ 1.ความร่วมมือในด้านการค้าการลงทุนและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ระหว่างสำนักงาน EEC และ Alibaba.com Singapore E-Commerce Private Limited 2.ความร่วมมือด้านการลงทุน Smart Digital Hub ในพื้นที่ EEC ระหว่างสำนักงาน EEC กรมศุลกากร และ บริษัท Cainiao Smart Logistics Network Hong Kong Limited 3.ความร่วมมือด้านการพัฒนา SMEs และบุคลากรด้านดิจิทัลระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และ Alibaba Business School 4.ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวผ่านดิจิทัลและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัท Zhejiang Fliggy Network Technology Company Limited เช่น การนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเมืองรองและสินค้าชุมชน “สำหรับการเจรจากับอาลีบาบาใช้เวลาถึง 1 ปี กว่าจะบรรลุการลงทุนและโครงการที่จะเกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งอาลีบาบาได้ทำการศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบ ในระดับภูมิภาคและเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงที่จะเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซในภูมิภาค พบว่ามีจำนวนในเอเชียผู้ใช้โซเชียลมีเดียผ่านมือถือโตกว่า 16% และไทยคาดว่ารายได้จากธุรกิจอีคอมเมิรซ์จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดจาก 113,400 ล้านบาท ในปี 2561 เป็น 186,500 ล้านบาท ในปี 2565 ประกอบกับนโยบายประเทศไทย 4.0 และ EEC การพัฒนาประเทศ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน คมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ โครงข่ายทางดิจิทัล และมาตรการสิทธิประโยชน์ คือสิ่งที่มำให้อาลีบาบาตัดสินใจลงทุนไทย” นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) กล่าวว่า โครงการจากอาลีบาบาครั้งนี้จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นการลงทุนและการพัฒนาประเทศ ดังนั้นโครงการนี้จะต่างจากการลงทุนประเทศอื่นในอาเซียนด้วยกันที่อาลีบาบาจะมาเน้นพัฒนาประเทศไทยคู่กันไป เช่น นำสินค้าไทยส่งออกไปขายจีน และในอนาคตจะเป็นโครงการจะใหญ่ที่สุดในอาเซียน ---------------------------------------------------- สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ยังเปิดบริการฟรี!! เหมือนเดิม จันทร์-ศุกร์ เวลาราชการ อาทิ บริการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พิมพ์ฉลากสินค้า เครื่องติดฉลากสินค้่า เครื่องปิดฝากล่อง เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาติดต่อ และทดสอบใช้งานเครื่องได้เลยนะครับ หรือเข้ามาขอรับคำปรึกษาแนะนำด้านการดำเนินกิจการหรือธุรกิจอื่นๆได้ในเวลาราชการครับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ตั้งอยู่ถนนคลังอาวุธ เส้นเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุบลราชธานีที่ 1 นะครับ https://ipc7.dip.go.th/ ---------------------------------------------------- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 อุบลราชธานี (1) เป็นหน่วยงานวิชาการในการเสนอความเห็นข้อเสนอแนะ สําหรับการกําหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และจัดทําแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคให้เกิดการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์ในกลุ่มจังหวัดและจังหวัดที่รับผิดชอบ (2) ดําเนินการเกี่ยวกับการผลักดันนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคไปสู่การปฏิบัติ (3) ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาองค์ความรู้รูปแบบ หลักสูตรต่าง ๆ ระบบและเทคนิควิธีการในการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ (4) เป็นศูนย์กลางในการให้คําปรึกษาแนะนําการบริการข้อมูล การออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีบ่มเพาะธุรกิจและสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงการดําเนินงานกับสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริการ และประสานการดําเนินงานตามนโยบาย แนวทางและมาตรการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 045314216-7 โทรสาร : (045)311987 website : https://ipc7.dip.go.th
18 เม.ย. 2561